วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์




คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์ หมายถึง  เครื่องคำนวณ  อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติทำหน้าที่เสมือนสมองกล  ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ 

ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
    คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่านที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
ส่วนที่ ๑ หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
                เป็นอุปกรณ์รับเข้าทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป้นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)
ส่วนที่ ๒ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
    ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวนทั้งทาง  ตรรกะและคณิตศาสตร์รวมถึงการประมวลข้อมูล
ตามคำสั่งที่ได้รับ
ส่วนที่ ๓ หน่วยความจำ (Memory Unit)
    ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลางและเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่ ๔ หน่วยแสดงผล (Output Unit)
    ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลหรือผ่านการคำนวณ ฮาร์ดแวร์ทำหน้าที่เป็นส่วนแสดงผลหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลจากซีพียูมายังผู้รับ ทั้งในรูปแบบภาพ เสียง และสิ่งพิมพ์ ฮาร์ดทีทำหน่าที่ในหน่วยนี้มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น จอภาพหรือมอนิเตอร์ ลำโพง หูฟัง เครื่องพิมพ์ และเครื่องแอลซีดีโพรเจคเตอร์
ส่วนที่ ๕ อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment)
   เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพวงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (Modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
    ๑.มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที
    ๒.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงทำงานได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
    ๓.มีความถูงต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
    ๔.เก็บข้อมูลได้ ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
    ๕.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง




 ระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
    ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๕ ส่วนดังนี้
      ๑.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
      ๒.ซอฟต์แวร์ (Software)
      ๓.บุคลากร (Peopleware)
      ๔.ข้อมูล (Data)

ฮาร์ดแวร์
   ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วยที่สำคัญ 
         ๑.หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
         ๒.หน่วยความจำหลัก
         ๓.หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
         ๔.หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
       
ส่วนที่๑ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
             มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูลโดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ความสามารถของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
ความเร็วของซีพียูจะขึ้นอยู่กับความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) ตัวเฮิร์ตซ์(Hortz)

ส่วนที่๒ หน่วยความจำ (Memory)
     จำแนกออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
          ๑.หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
          ๒.หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage)

   ๑.หน่วยความจำหลัก
          แบ่งได้ ๒ ประเภทคือหน่วยความจำแบบ "แรม"(RAM) และหน่วยความจำแบบ "รอม" (ROM)        
            ๑.๑ หน่วยความจำแบบ "แรม" (Ramdom Access Memory)
                   เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะข้อมูลหรือโปรแกรม

            ๑.๒ หน่วยความจำแบบ "รอม" (Read Only Memory)
                   เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรม หร์อข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ข้อมูลที่ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว หน่วยความจำแบบลบเลือน (Nonvolatile Memory)

    ๒.หน่วยความจำสำรอง
        หน่วยความจำชนิดนี้มีไว้สำหรับสำรองหรือทำงานกับข้อมูลและโปรแกรมขนาดใหญ่ เนื่องจากขนาดของหน่วยความจำหลักมีจำกัดหน่วยความจำสำรองสามารถเก็บไว้ได้หลายรูปแบบ เช่น แผ่นบันทึก (Floppy Disk)





หน่วยความจำสำรอง  (Secondary Memory Unit)
   หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้อมูลรองเป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
   หน่วยความสำรองมีหน้าที่คือ
  ๑.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
  ๒.ใช้ในการเก็บข้อมูลโปรแกรมไว้อย่างถาวร
  ๓.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

    ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
     หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับ เพราะข้อมูลต่างๆที่ ได้ส่งเข้ามาประมวลผลเมื่อเรียบร้อยแล้วผลลัพธ์ที่จะได้ถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรมหากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้าอาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำสำรองเพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไปหน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื้อที่ใช่การบันทึก แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานได้ปกติ

   ส่วนแสดงผลข้อมูล
    ส่วนแสดงผลข้อมูล คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวณผมกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่จอภาพ (Moniter) เครื่องพิมพ์ (Printer)
เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter และลำโพง (Speaker) เป็นต้น

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์(Peepleware)
        บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่นหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของงานคอมพิวเตอร์

  ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
๑.ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
๒.ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
๓.ฝ่ายปฎิบัติงานเครื่องและบริการ
  บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
๑.หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (Eppmanager)
๒.หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Anlyst หรือ SA)
๓.โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
๔.ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Compater Operator)
๕.พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)
   ๕.๑ นักวิเคราะห์ระบบงาน
   ๕.๒ โปรแกรมเมอร์
   ๕.๓ วิศวกรระบบ
   ๕.๔ พนักงานปฎิบัติการ
        ๕.๔.๑ ผู้จัดการระบบ(System Manager)คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตาม เป้าหมายของหน่วยงาน
        ๕.๔.๒ นักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst)คือผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิม หรืองานใหม่ และทำการคอมพิวเตอร์กับระบบงานเพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้ระบบงาน
        ๕.๔.๓ โปรแกรมเมอร์(Programmer)คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเตรียมเครื่อง    คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้ 
        ๕.๔.๔ ผู้ใช้(User)คือ ผู้ใช่งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้การใช้เครื่องและวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น