วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือขายคอมพิวเตอร์





ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือขายคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบเครือขายคอมพิวเตอร์




 
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
๑.เครือข่ายเฉพาะที่ ( Local Area Net work: Lan)
    เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู้ในพื้นที่ใกล้ๆกัน เช่น อยู่ภายในเฉพาะที่

๒.เครือข่ายเมือง ( Metropolitan Area Network : WAN)
    เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกัน เป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง

๓.เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN)
    เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นที่ไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว

   การทำงานของระบบ Net Work และ Inter net
รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย ( Not Work Topologv)
   การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์ และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่าย
หลักได้ ๔ แบบ คือ
   ๑.เครือข่ายแบบดาว
   ๒.เครือข่ายแบบวงแหวน
   ๓.เครือข่ายแบบแนบนัส
   ๔.เครือข่ายแบบต้นไม้



๑. แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

.แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงของสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป    



 ๓.แบบบิส เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ



๔.แบบต้นไม้ เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสารโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานีการสื่อสาร  
    



 

การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น ๓ ประเภทคือ
๑.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง ( Centrallized Networks)
๒.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
๓.ระบบเครือข่ายแบบ Client/server

๑.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง   เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผลตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่องต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆใช้การเดินสายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรงเพื่อให้เครื่องเทอร์มินอล

๒.ระบบเครือข่ายแบบ  ( Pee-to Pee  )   แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่ายสถานีเจะเท่าเทียมกัน สามรถที่จะแบ่งบันทรัพยากรให้แก้กันและกันได้ เช้นการใช้เครื่องพิมพ์ หรือ แฟ้มข้อมูลร้วมกันในเครือข่ายนั้นๆ  เครื่องแต่ละเคื่องมีขีด และความสารถได้ด้วยตนเอง  คือจะมีทรัพยากรภายในตัเอง เช่น ดิสก์สำหลับเก็บข้อมูล หน่วยความจำที่เพียงพอ

๓. ระบบเครือข่ายแบบ ( Client/Server  ) สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามรถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำง่นโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง  แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ  เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client/Server ราคาไม่แพงมากนัก  ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สมถนะสูงในการควบคุมการให้บริการ ทรัพยากรต่างๆ     นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามรถในการประมงลผล และมีพื้นที่สำหลับเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตัวเอง
   ระบบเครื่อข่ายแบบClient/Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่น สนับสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor  สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนเครื่องได้


 



วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ซอฟแวร์ประยุกต์




 






 ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software)

        ซอฟแวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชีการตกแต่งภาพหรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น


 ประเภทของซอฟแวร์ประยุกต์ 

        แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
๑. ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
๒.ซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packaged Softwara)
    มีโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package) และโปรแกรมมาตรฐาน (Standard Package)

        แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
๑.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
๒.กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphic and Multimedia)
๓.กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Web and Communications)

กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
    ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองาน และการบึนทึกนักหมายต่างๆ ตัวอย่าง  เช่น โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word,Son,Staroffice Writer  โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel,Sun Staroffice Cals  โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft Power Point,Sun Staroffioc Impress

กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
    ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดียเพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อ ภาพเคลื่อนไหวและออกแบบเว็บไซต์

ตัวอย่าง เช่น โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
                      โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ Corel Draw,Adobe Photoshop     
                      โปรแกรมตัดต่อวิดีโอและเสียง อาทิ Adobe Premicre,Pinnacle Studio DU
                      โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมิเดีย อาทิ Adobe Authoware,Toolbook Instructor Adobe Director
                      โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash,Adobe Dreamweaver

กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
    เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟแวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะ เพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเซ็คอีเอลการท่องเว็บไซต์การจัดการดูแลเว็บและการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย
ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่:
      โปรแกรมจัดการอีเมล์ อาทิ Microsoft Outlook,Mozzila Thoaderbird
      โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer,Mozzila Firefox
      โปรแกรมประชุมทางไกล (Video Comferenoe) อาทิ Miorosoft Netmeeetiog
      โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) อาทิ MSN Miorosoft Windowe Messenger,ICQ
      โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ต อาทิ Pirch,Mirch

ความจำเป็นของการใช้ซอฟแวร์
     การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมียุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษรเป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมายบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล

ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
     เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์ รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำต้องมีสื่อกลางถ้าเปรียบเทียมกับชีวิตประจำวันแล้วเรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และปฎิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางที่สำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เราเรียกว่าสื่อกลาง นี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย

ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
     เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไปฟ้าให้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกับเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
     การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก

ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
    เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่องภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการ
เขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกันคอมพิวเตอร์แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มากและจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซม

ภาษาระดับสูง (High-Level Langvages)
     เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้นผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์ตัวแปลภาษาสูงเพื่อให้คอมไฟเลอร์ (Compiler) และอินเทอร์พรีเดอร์ (Interpreter)

คอมไพเลอร์
     จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อนแล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น

อินเทอร์พรีเตอร์
     จะทำการแปลทีละคำสั่งแล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งเป็นนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเดอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ซอฟต์แวร์






ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆ โปรแกรมนำมารวมกันในสามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณตามต้องการ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิด เช่น แผ่นCD

     หน้าที่ของซอฟแวร์
          ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

     ประเภทของซอฟต์แวร์
  ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆคือ
๑.ซอฟต์แวร์ระบบ
๒.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
๓.ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

๑.ซอฟต์แวร์ระบบ
      เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช่จัดการกับระบบหน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงวงจร
      System sofware หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ Dos,Windows,Unix,Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic,Fortran

     หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
๑.ใช่ในการจัดหน่วยรับหน่วยส่งออกส่งคอมพิวเตอร์ เช่น รับรู้ การกดเป็นต่างๆบนแผนแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์
๒.ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก
๓.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่นการขอดูรายการในสารบบในแผ่นบันทึกการทำสำเนาแฟ้มข้อมูลต่างๆ

    ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
๑.ระบบปฎิบัติการ OS
๒.ตัวแปลภาษา

๑.ระะบบปฎิษัติการ หรือที่เรียกว่า OS
          ซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฎิบัติการนี้ระบบปฎิษัติการที่รู้จักกันดี เช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกส์ เป็นต้น
   
      ๑.๑ ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว
      ๑.๒ วินโดวส์ เป็นระบบปฎิษัติการที่พัฒนามาตั้งแต่จากดอสโดยให้ผู้ใช้สั่งงานได้
      ๑.๓ ยูนิกส์ เป็นระบบปฎิบัติที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฎิบัติการยูนิกส์
              เป็นระบบปฎิบัติการที่เทคโนโลยีแบบเปิด
      ๑.๔ ลีนุกซ์ เป็นระบบปฎิบัติการที่พัฒนามายูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับ
              ให้นำพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฎิบัติลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน
      ๑.๕ แมคอินทอช เป็นระบบปฎิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอชส่วนมากนำ
              ไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสารนิยมใช้มากในสำนักพิมพ์ต่างๆ       

      ชนิดของระบบปฎิบัติการสามารถแบ่งได้ ๓ ชนิด

๑.ประเภทใช้งานเดียว
      ระบบปฎิบัติการนี้ละกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น
๒.ประเภทใช้ได้หลายงาน
      ระบบปฎิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิด
๓.ประเภทใช้งานหลายคน
      ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผลทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน จึงต้องมีความสามารถสูง


๒.ตัวแปลภาษา
      การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
      ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อในผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่ายเข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงคือ เช่น ภาษา Bascal,Pascal,C และภาษาโลโก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์
 

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์




คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์ หมายถึง  เครื่องคำนวณ  อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติทำหน้าที่เสมือนสมองกล  ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ 

ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
    คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่านที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
ส่วนที่ ๑ หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
                เป็นอุปกรณ์รับเข้าทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป้นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)
ส่วนที่ ๒ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
    ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวนทั้งทาง  ตรรกะและคณิตศาสตร์รวมถึงการประมวลข้อมูล
ตามคำสั่งที่ได้รับ
ส่วนที่ ๓ หน่วยความจำ (Memory Unit)
    ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลางและเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่ ๔ หน่วยแสดงผล (Output Unit)
    ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลหรือผ่านการคำนวณ ฮาร์ดแวร์ทำหน้าที่เป็นส่วนแสดงผลหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลจากซีพียูมายังผู้รับ ทั้งในรูปแบบภาพ เสียง และสิ่งพิมพ์ ฮาร์ดทีทำหน่าที่ในหน่วยนี้มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น จอภาพหรือมอนิเตอร์ ลำโพง หูฟัง เครื่องพิมพ์ และเครื่องแอลซีดีโพรเจคเตอร์
ส่วนที่ ๕ อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment)
   เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพวงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (Modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
    ๑.มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที
    ๒.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงทำงานได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
    ๓.มีความถูงต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
    ๔.เก็บข้อมูลได้ ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
    ๕.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง




 ระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
    ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๕ ส่วนดังนี้
      ๑.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
      ๒.ซอฟต์แวร์ (Software)
      ๓.บุคลากร (Peopleware)
      ๔.ข้อมูล (Data)

ฮาร์ดแวร์
   ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วยที่สำคัญ 
         ๑.หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
         ๒.หน่วยความจำหลัก
         ๓.หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
         ๔.หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
       
ส่วนที่๑ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
             มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูลโดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ความสามารถของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
ความเร็วของซีพียูจะขึ้นอยู่กับความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) ตัวเฮิร์ตซ์(Hortz)

ส่วนที่๒ หน่วยความจำ (Memory)
     จำแนกออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
          ๑.หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
          ๒.หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage)

   ๑.หน่วยความจำหลัก
          แบ่งได้ ๒ ประเภทคือหน่วยความจำแบบ "แรม"(RAM) และหน่วยความจำแบบ "รอม" (ROM)        
            ๑.๑ หน่วยความจำแบบ "แรม" (Ramdom Access Memory)
                   เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะข้อมูลหรือโปรแกรม

            ๑.๒ หน่วยความจำแบบ "รอม" (Read Only Memory)
                   เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรม หร์อข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ข้อมูลที่ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว หน่วยความจำแบบลบเลือน (Nonvolatile Memory)

    ๒.หน่วยความจำสำรอง
        หน่วยความจำชนิดนี้มีไว้สำหรับสำรองหรือทำงานกับข้อมูลและโปรแกรมขนาดใหญ่ เนื่องจากขนาดของหน่วยความจำหลักมีจำกัดหน่วยความจำสำรองสามารถเก็บไว้ได้หลายรูปแบบ เช่น แผ่นบันทึก (Floppy Disk)





หน่วยความจำสำรอง  (Secondary Memory Unit)
   หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้อมูลรองเป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
   หน่วยความสำรองมีหน้าที่คือ
  ๑.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
  ๒.ใช้ในการเก็บข้อมูลโปรแกรมไว้อย่างถาวร
  ๓.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

    ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
     หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับ เพราะข้อมูลต่างๆที่ ได้ส่งเข้ามาประมวลผลเมื่อเรียบร้อยแล้วผลลัพธ์ที่จะได้ถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรมหากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้าอาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำสำรองเพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไปหน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื้อที่ใช่การบันทึก แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานได้ปกติ

   ส่วนแสดงผลข้อมูล
    ส่วนแสดงผลข้อมูล คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวณผมกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่จอภาพ (Moniter) เครื่องพิมพ์ (Printer)
เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter และลำโพง (Speaker) เป็นต้น

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์(Peepleware)
        บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่นหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของงานคอมพิวเตอร์

  ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
๑.ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
๒.ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
๓.ฝ่ายปฎิบัติงานเครื่องและบริการ
  บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
๑.หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (Eppmanager)
๒.หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Anlyst หรือ SA)
๓.โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
๔.ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Compater Operator)
๕.พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)
   ๕.๑ นักวิเคราะห์ระบบงาน
   ๕.๒ โปรแกรมเมอร์
   ๕.๓ วิศวกรระบบ
   ๕.๔ พนักงานปฎิบัติการ
        ๕.๔.๑ ผู้จัดการระบบ(System Manager)คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตาม เป้าหมายของหน่วยงาน
        ๕.๔.๒ นักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst)คือผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิม หรืองานใหม่ และทำการคอมพิวเตอร์กับระบบงานเพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้ระบบงาน
        ๕.๔.๓ โปรแกรมเมอร์(Programmer)คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเตรียมเครื่อง    คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้ 
        ๕.๔.๔ ผู้ใช้(User)คือ ผู้ใช่งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้การใช้เครื่องและวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ