ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software)
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
๑. ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
๒.ซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packaged Softwara)
มีโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package) และโปรแกรมมาตรฐาน (Standard Package)
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
๑.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
๒.กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphic and Multimedia)
๓.กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Web and Communications)
กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองาน และการบึนทึกนักหมายต่างๆ ตัวอย่าง เช่น โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word,Son,Staroffice Writer โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel,Sun Staroffice Cals โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft Power Point,Sun Staroffioc Impress
กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดียเพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อ ภาพเคลื่อนไหวและออกแบบเว็บไซต์
ตัวอย่าง เช่น โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ Corel Draw,Adobe Photoshop
โปรแกรมตัดต่อวิดีโอและเสียง อาทิ Adobe Premicre,Pinnacle Studio DU
โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมิเดีย อาทิ Adobe Authoware,Toolbook Instructor Adobe Director
โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash,Adobe Dreamweaver
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟแวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะ เพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเซ็คอีเอลการท่องเว็บไซต์การจัดการดูแลเว็บและการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย
ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่:
โปรแกรมจัดการอีเมล์ อาทิ Microsoft Outlook,Mozzila Thoaderbird
โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer,Mozzila Firefox
โปรแกรมประชุมทางไกล (Video Comferenoe) อาทิ Miorosoft Netmeeetiog
โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) อาทิ MSN Miorosoft Windowe Messenger,ICQ
โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ต อาทิ Pirch,Mirch
ความจำเป็นของการใช้ซอฟแวร์
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมียุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษรเป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมายบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์ รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำต้องมีสื่อกลางถ้าเปรียบเทียมกับชีวิตประจำวันแล้วเรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และปฎิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางที่สำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เราเรียกว่าสื่อกลาง นี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย
ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไปฟ้าให้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกับเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่องภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการ
เขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกันคอมพิวเตอร์แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มากและจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซม
ภาษาระดับสูง (High-Level Langvages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้นผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์ตัวแปลภาษาสูงเพื่อให้คอมไฟเลอร์ (Compiler) และอินเทอร์พรีเดอร์ (Interpreter)
คอมไพเลอร์
จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อนแล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
อินเทอร์พรีเตอร์
จะทำการแปลทีละคำสั่งแล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งเป็นนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเดอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง